วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

พินัยกรรม

วิธีทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
ต้องทำเป็นหนังสือ จะเขียนหรือพิมพ์ โดยจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ ต้องลงวันที่ เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ต้องมีข้อความแสดงว่าเป็นพินัยกรรม คือ มีข้อความระบุว่าจะยกทรัพย์สินหรือกิจการใดให้แก่ใคร เท่าใด ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยาน จะใช้ตราประทับ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้ จะพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ 2 คนในขณะนั้น พยานรับรองข้อความในพินัยกรรมต้องมี 2 คน พยานรับรองข้อความในพินัยกรรมทั้ง 2 คน ต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ผู้เขียนพินัยกรรม (ผู้พิมพ์พินัยกรรมถือว่าเป็นผู้เขียน) ถ้าเป็นพยานรับรองข้อความในพินัยกรรมด้วยก็ต้องระบุให้รู้ว่าเป็นทั้งผู้เขียนและพยาน ถ้ามีการขูดลบตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงในพินัยกรรม จะต้องลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อกำกับต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พยานต้องลงลายมือชื่อด้วย ถ้าผู้อื่นเขียน ก็ให้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ( มาตรา 1656)
วิธีทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความในพินัยกรรมด้วยตนเองตลอด จะให้ผู้อื่นเขียนหรือพิมพ์แทนไม่ได้ ต้องลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ จะใช้ตราประทับหรือใช้เครื่องหมายแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ จะมีพยานด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีการขูด ลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร ต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ (มาตรา 1657)
ตัวอย่างพินัยกรรมแบบธรรมดา และแบบเขียนเองทั้งฉบับพินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่หนึ่ง)พินัยกรรม
ทำที่……………………………………………วันที่……………เดือน………………………….พ.ศ………….
ข้าพเจ้า………………………………………………….อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่ ………………หมู่ที่……….. ถนน…………………………………….ตำบล/แขวง…………………………………….อำเภอ/เขต……………………………. จังหวัด……………………..………….ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่………………………………………………………………………………………………………. แต่ผู้เดียว
ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม(ลายพิมพ์นิ้วมือของ………………………………………..)
ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ขอรับรองว่า……………………………………………………………ผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำพินัยกรรมและพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าข้าพเจ้า และได้สังเกตเห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในพินัยกรรม
ลงชื่อ………………………………………พยาน(………………….…………………)ลงชื่อ……………………………………..พยานและผู้เขียน(………………………………)พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่สอง)พินัยกรรม
ทำที่…………………………………………..วันที่……………เดือน………………………….พ.ศ. …………..
ข้าพเจ้า……………………………………………………อายุ………….ปี อยู่บ้านเลขที่……………หมู่ที่……….. ถนน………………………………………ตำบล/แขวง…………………………………อำเภอ/เขต……………..……………….. จังหวัด……………………………………….ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคตให้แก่บุคคลที่มีชื่อต่อไปนี้ คนละหนึ่งส่วนเท่าๆ กันคือ
1. ……………………………………………………………………………2. ……………………………………………………………………………3. ……………………………………………………………………………4. ……………………………………………………………………………
และขอให้…………………………………………………………เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าเพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าข้าพเจ้าเห็นว่าพินัยกรรมฉบับนี้มีข้อความถูกต้องตรงตามเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม
(ลายพิมพ์นิ้วมือของ………………………………………..)
ข้าพเจ้าผู้มีนามข้างท้ายนี้ขอรับรองว่า………………………………………………………ผู้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ได้ทำพินัยกรรมต่อหน้าข้าพเจ้า และได้สังเกตเห็นว่าผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ ข้าพเจ้าจึงได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานไว้ในพินัยกรรม
ลงชื่อ……………………………………..พยาน(…………………………………….)ลงชื่อ……………………………………..พยานและผู้เขียน(…………………………………….)
พินัยกรรมแบบธรรมดา (แบบที่3)พินัยกรรม
ทำที่………………………………………….วันที่…………เดือน……………………………พ.ศ…………
ข้าพเจ้า…………………………………………………….อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่…..หมู่ที่……..ถนน………………………………….. ตำบล/แขวง……………………………..…..อำเภอ/เขต…………………..……………จังหวัด………………………………………..ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินต่างๆ ของข้าพเจ้าให้บุคคลดังต่อไปนี้
1. ที่ดินโฉนดเลขที่……………………………พร้อมสิ่งปลูกสร้างอยู่ที่ตำบล……………………………………..อำเภอ………………………….จังหวัด………………………….ขอมอบให้แก่……………………………………….2. เงินสดจำนวน…………………………..บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร………………………………………………..สาขา…………………………………………..……. ตามสมุดเงินฝากประเภท……………………………………… หมายเลขบัญชี………………………………………. มอบให้แก่……………………………………………………….3. เครื่องเพชร พลอย ทอง นาค เงิน (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ขอมอบให้แก่…………………………………….…………………………………………………………………4. ทรัพย์สินของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุตามข้อ 1, 2, 3 นี้แล้ว ขอมอบให้แก่………………………………..……………………………………………………………………5. ขอให้……………………………………………………………… เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้า เพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นเป็นจำนวน………………ฉบับ ทุกฉบับมีข้อความตรงกัน และข้าพเจ้าเห็นว่ามีข้อความถูกต้องตรงตามเจตนาของข้าพเจ้าแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานและพยานทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าข้าพเจ้า
ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม(………………………………………….)ลงชื่อ…………………………………………..พยาน(………………………………………….)ลงชื่อ……………………………………..พยานและผู้เขียน(……………………………………..)
ข้าพเจ้านายแพทย์………………………..แพทย์ประจำโรงพยาบาล……………………… ขอรับรองว่าในขณะที่ทำพินัยกรรมนี้………………………………………………..ผู้ทำพินัยกรรมมีสติ สัมปชัญญะบริบูรณ์ทุกประการ จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
ลงชื่อ……………………………นายแพทย์และพยาน(……………………………)
ข้อสังเกตในการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา
1. การทำพินัยกรรมแบบนี้ จะทำโดยใช้วิธีเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ หากใช้วิธีเขียนก็ต้องเขียนทั้งฉบับ หากใช้วิธีพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ 2. ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์พินัยกรรม ใครจะเป็นผู้เขียน หรือผู้พิมพ์ก็ได้ แต่ในการเขียนต้องใช้คนๆ เดียวเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ และในการพิมพ์ก็ต้องใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันทั้งฉบับ เพื่อมิให้เกิดปัญหาแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว 3. ต้องลงวันเดือนปีขณะที่ทำพินัยกรรม ถ้าไม่ลงวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมแล้วย่อมไม่ถือว่าเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย 4. ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน 5. พยานทั้งสองคนตามข้อ 4 ต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรมและต่อหน้าพยานด้วยกันในขณะนั้นด้วย 6. พยานในพินัยกรรม จะต้องบรรลุนิติภาวะแล้วคืออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือกรณีสมรสกันเมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว แม้อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ และพยานดังกล่าวต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ทั้งต้องไม่เป็นคนหูหนวก เป็นใบ้หรือตาบอดทั้งสองข้าง 7. ผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม รวมทั้งคู่สมรสของผู้เขียนและพยานในพินัยกรรม จะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (แบบที่หนึ่ง)พินัยกรรม
ทำที่……………………………….วันที่…………เดือน……………………พ.ศ. …………
ข้าพเจ้า………………………………..……… อายุ…….…ปี อยู่บ้านเลขที่…….…….. หมู่ที่……….. ถนน…………………………….ตำบล/แขวง…………………………..อำเภอ/เขต…………………………………… จังหวัด…………………………………. ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้ เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่………………………………… …………………………………………………..แต่ผู้เดียวพินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่………………………………………….. อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่…………………………………ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว
ลงชื่อ…………………………………………ผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (แบบที่สอง)พินัยกรรม
ทำที่……………………………………..วันที่…………. เดือน…………………..พ.ศ. ………….
ข้าพเจ้า………………………………………อายุ………….ปี อยู่บ้านเลขที่……………หมู่ที่………. ถนน…………..….……..…..… ตำบล/แขวง……………………………..อำเภอ/เขต…………………………… ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงเจตนาว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่จะมีต่อไปในอนาคตให้แก่บุคคลที่มีชื่อต่อไปนี้ คนละหนึ่งส่วนเท่า ๆ กันคือ
1. ………………………………………………………..2. ………………………………………………………..3. ………………………………………………………..4. ………………………………………………………..…………………………………………………………………………………………………………………………พินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่…………….………….………. อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่……………..……………….ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว
ลงชื่อ…………………………….……ผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ (แบบที่สาม)พินัยกรรม
ทำที่…………………………………….วันที่………….เดือน……………………พ.ศ. …………
ข้าพเจ้า……………………..………………อายุ………..ปี อยู่บ้านเลขที่……………หมู่ที่……….. ถนน…………………………….. ตำบล/แขวง……………………………..อำเภอ/เขต……………………… จังหวัด…………………………… ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้เพื่อแสดงว่า เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้แบ่งทรัพย์สินต่าง ๆ ของข้าพเจ้าให้บุคคลดังต่อไปนี้1. ที่ดินโฉนดเลขที่……………….…อยู่ที่ตำบล………….…………..อำเภอ………………………….จังหวัด……………………………ขอมอบให้แก่……………………………………………………………………2. ที่ดินโฉนดเลขที่………………………พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ที่ตำบล……………………………… อำเภอ……………………………จังหวัด……………………………ขอมอบให้แก่……………………………………….3. เงินสดจำนวน……………………………..บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร ………………………………. สาขา…………………………………….ตามสมุดเงินฝากประเภท………………………………หมายเลขบัญชี………………………………………….ขอมอบให้แก่……………………………………………………….4. เงินสดจำนวน……………………………..บาท ซึ่งฝากไว้ที่ธนาคาร…………………… สาขา…………………………………….ตามสมุดเงินฝากประเภท………………………………หมายเลขบัญชี………………………………………….ขอมอบให้แก่……………………………………………………….5. เครื่องเพชร พลอย ทอง นาค เงิน (ทั้งหมดหรือบางส่วน) ขอมอบให้แก่…………………………………………………………………………………………………6. ทรัพย์สินของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุตามข้อ 1,2,3,4,5 นี้แล้วขอมอบให้แก่…………….…………………………………………………………………………………7. ขอให้………………………………………….เป็นผู้จัดการศพข้าพเจ้า โดยให้หักเงินค่าทำศพไว้จากทรัพย์สินในข้อ 6 จำนวน………………………….บาท มอบให้ผู้จัดการศพข้าพเจ้า8. ขอให้…………………………………………….เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้า เพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าตามที่ได้แสดงเจตนาไว้แล้วข้างต้นพินัยกรรมนี้ ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ ได้ทำไว้ 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่………………………………..อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่………………………………ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว
ลงชื่อ………………………………….ผู้ทำพินัยกรรม

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

การให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน



มาตรา 144 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดให้ ขอให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นแก่เจ้าหน้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 149 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

ตัวอย่างเช่น นายจำนงค์มีภรรยาชื่อนางจินตนาทั้ง 2 อยู่กินกันมานาน และเขาทั้งสองประกอบอาชีพค้าอาวุธปืนและทำมานานจนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปภายในหมู่บ้าน อยู่มาวันหนึ่งตำรวจได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องของนายจำนงค์และนางจินตนา จึงได้เข้าไปทำการจับกุมสองสามีภรรยาคู่นี้ และเมื่อทั้งสองโดนจับ ได้มีอาของนายจำนงค์เข้าไปพูดคุยกับตำรวจและได้ยื่นซองขาวให้กับตำรวจ เพื่อต้องการให้ตำรวจทำคดีของนายจำนงค์และนางจินตนาจากผ่อนหนักเป็นเบาลง เมื่อตำรวจได้รับซองจึงเปิดดูภายในซอง ปรากฎว่ามีเงินสดอยู่ 10000 บาท ดังนั้นตำรวจจึงพยายามช่วยทำคดีของนายจำนงค์และนางจินตนาให้จากหนักเป็นเบาลงได้
จากตัวอย่างดังกล่าว อาของนายจำนงค์ ผิดตามมาตรา 144 เพราะให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ส่วนเจ้าหน้าตำรวจผิดตามมาตรา 149 เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจรับสินบนจากอาของนายจำนงค์
น.ส.สุพรรณี เสมอภาค เลขที่ 40 รปศ. 501


วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายครอบครัว (การหมั้น)


มาตรา1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

ตัวอย่างเช่น นายบินจะแต่งงานกับ นางสาวเบล โดยที่ทั้ง 2 คนได้มีการหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว และนายบินก็ได้สัญญากับนางสาวเบลเอาไว้ว่าอีก 3 เดือนจะกลับมาแต่งงานด้วย แต่พอถึงกำหนดครบ 3เดือน นายบินก็มาตามสัญญาพร้อมที่จะแต่งงานกับนางสาวเบล แต่พอมาถึงนางสาวเบลกลับเปลี่ยนใจไม่แต่งงานกับนายบินตามที่สัญญาไว้ ทำให้นายบินเสียชื่อเสียง ในกรณีนี้ นายบินสามารถเรียกค่าทดแทนจากนางสาวเบลได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ตาม

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้


จากตัวอย่างดังกล่าว นายบินสามารถเรียกเอาของหมั้นทั้งหมดกลับคืนมาได้ เพราะเป็นความผิดสัญญาหมั้นของฝ่ายหญิง (ของนางสาวเบล)


นางสาว สุพรรณี เสมอภาค เลขที่40 รปศ.501

วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กฎหมายไม่ใช่กฎหมู่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีทั้งหมด6บรรพ แยกได้ดังนี้ 1-6 แต่ละบรรพก็ใช้ในเรื่องที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก ก็ล้วนแต่จะช่วยให้บุคคลใดๆก็ตาม ที่มีปัญหาเกี่ยวกับคดีความได้ศึกษาและใช้กฎหมายดังกล่าวมาช่วย เพื่อความถูกต้องและยุติธรรม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิต เช่น เมื่อเราเกิดมา ก็มีกฎหมายเป็นสภาพบุคคลมารองรับสถานภาพ แล้ว ยังมีกฎหมายเกี่ยวกับผู้เยาว์ เพื่อบอกความสามารถว่าเราทำนิติกรรมใดได้บ้าง พอเราโตขึ้นมีครอบครัวก็มีกฎหมายครอบครัว เกี่ยวกับเรื่องการหมั้นจนถึงการหย่า หรือเมื่อเราเสียชีวิตก็ยังมีกฎหมายมรดกเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราอีกด้วย จะเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของสังคมเป็นอันมาก และหากว่าเราได้ศึกษาหรือมีความรู้เกี่ยวกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บ้างไม่มากก็น้อย ก็จะช่วยให้เรามีความรอบคอบในนิติกรรมใดๆที่เราจะกระทำมากขึ้น เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงคิดว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมมากๆและเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ต่อตัวเราด้วยโดยตรงตามเหตุและผลที่ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วข้างต้น http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=568045
รปศ.501น.ส.นิตยา เกลี้ยงสง เลขที่ 16
น.ส.สุพรรณี เสมอภาค เลขที่ 40
น.ส.สุภาวดี แก้วหล่อ เลขที่ 42

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง

“ม.112 ไม่ใช่คดีหมิ่นประมาท แต่เป็นความผิดด้านความมั่นคงแห่งรัฐ” :พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
รมว.ยุติธรรม อธิบายชัด กม.หมิ่นฯ ม.112 ไม่ใช่แค่คดีหมิ่นประมาท แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ เพราะสถาบันกษัตริย์ผูกพันกับสังคมไทยลึกซึ้ง ชี้ ต่างชาติก็มีข้อยกเว้น และความจำเป็นด้านความมั่นคงด้านอื่นเช่นกัน วอนชาวไทยช่วยกันชี้แจงฝรั่ง เผยเบื้องลึกมีขบวนการจัดตั้ง ชี้ นักข่าวออสซี่ขอพระราชทานอภัยโทษได้ตามขั้นตอน

จากกรณีที่ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าจะดำเนินการต่อผู้กระทำผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างเด็ดขาด ประกอบกับมีเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับคดีหมิ่นฯ หลายประการ เช่น ในกรณีที่ ศาลอาญาตัดสินจำคุก นายแฮรี นิโคลายส์ (Harry Nicolaides) อดีตนักข่าวและคอลัมนิสต์ชาวออสเตรเลียเป็นเวลา 3 ปี, การจับกุมผู้เผยแพร่ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงลงในเว็บไซต์ต่างๆ, การเข้าให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ของ นายใจลล์ ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หลังถูกออกหมายเรียกในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากกรณีเขียนหนังสือเรื่อง A Coup for the Rich รวมไปถึง การที่คดีหมิ่นฯ ของ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้เข้าสู่ชั้นของอัยการ โดยนายจักรภพ ได้เดินทางไปรายงานตัวต่ออธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจากหลายๆ เหตุการณ์ข้างต้น ได้มีกลุ่มผู้ให้กำลังใจผู้ต้องคดีหมิ่นฯ ชูป้ายระบุข้อความ อย่างเช่น “ม.112 กฎหมายเผด็จการ ล้าหลัง ทำลายเสรีภาพ” ขณะเดียวกัน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศ อย่างรอยเตอร์ ก็ได้ทำสรุปรายชื่อผู้ต้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่ามีจำนวนนับสิบคนทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ และเสนอข่าวในทำนองชี้นำว่ากฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นสากล เป็นกฎหมายล้าหลัง และขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ต่อกรณีดังกล่าว นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์กับ ทีมข่าว ASTVผู้จัดการ โดยระบุว่า ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเหมือนกับ คดีหมิ่นประมาททั่วๆ ไป ส่วนคนไทยอีกจำนวนหนึ่งก็กลับไปคิดเหมือนชาวต่างชาติ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นส่งกรณีที่ผลต่อความมั่น คงแห่งรัฐ “ฝรั่งไม่เข้าใจว่า สำหรับประเทศไทยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มันไม่ใช่คดีหมิ่นประมาทเหมือนในประเทศเขา แต่มันเป็นหนึ่งในความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ ซึ่งแต่ละประเทศมีเหตุผลและความจำเป็นที่แตกต่างไม่เหมือนกัน บางประเทศการกระทำความผิดบางอย่างที่คนไทยเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กนิดเดียว แต่เขาบอกว่าไม่ได้ เป็นเรื่องใหญ่ อย่างหลายๆ กรณีในประเทศมุสลิม เช่น ผ้าคลุมหน้า (ฮิญาบ) หรือ เรื่องชู้สาว ในเมืองไทยคนไทยบอกเป็นเรื่องเล็ก แต่อย่างในซาอุฯ สหรัฐอเมริกา ถือเป็นเรื่องใหญ่” นายพีระพันธุ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็เป็นผู้ที่ผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการ กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อพระบรมราชวงศ์กล่าวอธิบาย นายพีระพันธุ์ ยังยกตัวอย่างอีกว่า ปัจจุบันหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก็อาจถูกมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ อย่างเช่น กรณีการบล็อกเว็บไซต์การก่อการร้าย การแสดงความคิดเห็นสนับสนุนการก่อการร้าย หรือการที่สหรัฐฯ ตรวจสอบผู้เดินทางทางอากาศในสหรัฐฯ อย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะการถอดรองเท้า ถอดเข็มขัด หรือบางครั้งต้องถอดเสื้อผ้า ทว่า เรื่องเหล่านี้ทางการสหรัฐฯ ถือว่าเป็นกรณียกเว้น เนื่องจากเป็นเรื่องที่กระทบความมั่นคงแห่งรัฐ ซึ่ง ณ สถานการณ์วันนี้เป็นสิ่งที่สหรัฐฯ จำเป็นต้องทำ หรือแม้กระทั่ง กรณีการลักทรัพย์ในประเทศซาอุดีอาระเบียที่มีโทษถึงขั้นตัดมือก็เช่นเดียว กัน “เราต้องทำความเข้าใจว่า กฎหมายอาญานั้นมีมาก่อนพวกเราเกิดเสียอีก แล้วเมื่อมีมาตั้งแต่ต้นเขาได้แบ่งความผิดเอาไว้ โดยเฉพาะความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐ มีการกระทำหลายอย่างที่เขาถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงและกระทบความมั่นคงแห่ง รัฐ หนึ่งในนั้นก็คือความผิดในมาตรา 112 คือ เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพราะว่าจากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศไทยแล้ว เราต้องยอมรับว่าถ้าวันนี้เราไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ในอดีต ประเทศไทยจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า?” รมว.ยุติธรรม กล่าวและว่า “เพราะฉะนั้น ความผูกพันของสถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงของประเทศเราจึงอยู่เหนือ ความเข้าใจของประเทศอื่น เพราะเขาไม่เหมือนเรา นี่เป็นเหตุผลภายในของเรา เราจัดชั้นเป็นความมั่นคงแห่งรัฐ เป็นความผิดด้านความมั่นคงแห่งรัฐ”

ป้ายระบุข้อความโจมตี กฎหมายอาญา ม.112 ซึ่งเมื่อ 20 ม.ค. กลุ่มคนเสื้อแดงนำมายกให้กำลังใจนายใจ อึ๊งภากรณ์ (ภาพล่าง) ป้ายเดียวกันที่กลุ่มคนเสื้อแดงนำไปยกให้กำลังใจนายจักรภพ เพ็ญแข เมื่อวันที่ 13 ม.ค. ระหว่างเข้าพบอัยการ ทั้งนี้ ใน รมว.ยุติธรรม ให้เห็นว่า รัฐบาลจำเป็นต้องใช้กลไกภาครัฐ เช่น กระทรวงต่างประเทศ สถานทูตไทยในประเทศต่างๆ รวมถึง ขอความร่วมมือไปยังประชาชนให้ช่วยกันอธิบายให้ชาวต่างชาติเข้าใจว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐของ ไทย และมิได้มีความหมายเพียงแค่คำว่า หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ Lese Majeste เท่านั้น “Lese Majeste เป็นศัพท์เทคนิคของกฎหมาย ไม่ใช่ลักษณะความผิดของกฎหมาย เป็นศัพท์เฉพาะ ความผิดเช่นนี้ในภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Lese Majeste หรือการดูหมิ่น เหยียดหยามสถาบันฯ ไม่ใช่เรื่องความผิด คำนี้เป็นคำอย่างนั้น แต่ในกรณีของไทยมันเป็นอาชญากรรมที่กระทบต่อ National Security ถ้าเราพูดเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐ ประเทศอื่นๆ เขาจะเข้าใจ สิงคโปร์เขาเคยต้องเฆี่ยนคน โบยคน เพราะแค่คนๆ นั้นทิ้งหมากฝรั่ง แล้วทำไมเขาทำ เพราะเขามีเหตุผลของเขา ถ้าเราไม่อยากโดนก็อย่าไปทำอย่างนั้นในประเทศเขา เพราะฉะนั้น แต่ละประเทศย่อมมีเหตุผลภายในของตัวเอง” ต่อมาเมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความแตกต่างของสถาบันกษัตริย์ของไทยกับ ของต่างชาติอย่างเช่น อังกฤษ และญี่ปุ่น รมว.ยุติธรรม ก็ชี้แจงว่า ในประเทศอังกฤษ กษัตริย์มิได้มีสถานะเป็นสมมติเทพดังเช่นวัฒนธรรมไทย ส่วนประเทศญี่ปุ่นสถานะของจักรพรรดิก็มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก “เราต้องยอมรับว่า ในอดีต องค์พระมหากษัตริย์นั้น เป็นสมมติเทพ อังกฤษเขาไม่ได้บอกว่ากษัตริย์เขาเป็นสมมติเทพ เขาเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ ญี่ปุ่น ณ วันนี้ก็ไม่ใช่ ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนจักรพรรดินั้นยิ่งใหญ่มาก แต่วันนี้สถาบันกษัตริย์ของเรายังคงความสำคัญอันนี้อยู่ เรายังเทิดทูนและเรายังมีความเชื่ออยู่” นายพีระพันธุ์ ยังกล่าวอธิบายต่อไปด้วยว่า “ถ้าตัดเรื่องอื่นไป พูดถึงแค่ความรู้สึกเรา สมมติว่าผมไปวิพากษ์วิจารณ์คุณพ่อคุณแม่คุณ (หมายถึงผู้สื่อข่าว) ได้ไหม (นักข่าวตอบ “ไม่ได้”) ผมบอกว่า มันสิทธิเสรีภาพผม ทำไมจะวิจารณ์ไม่ได้? ... นั่นคือ พ่อเราๆ เรายังบอกไม่ได้ แล้วนี่พ่อของแผ่นดิน ได้ไหม ก็แค่นี้ล่ะครับ” ส่วนกรณีที่มีคนบางกลุ่มออกมาโจมตีว่า กฎหมายอาญา ม.112 ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น นายพีระพันธุ์ โต้ว่า ไม่เป็นความจริง เพราะหากกระบวนการออกกฎหมายนั้นถูกต้อง กฎหมายนั้นก็ย่อมชอบด้วยกฎหมาย “นักข่าวออสซี่” ขออภัยโทษได้ตามขั้นตอน เมื่อถามถึงกรณีที่รัฐบาลของประเทศออสเตรเลีย ได้เข้าขอร้องทางรัฐบาลไทยให้ขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ นายแฮรี นิโคลายส์ ชาวออสเตรเลียที่ถูกคุมขังในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ว่า รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้กำกับดูแลกรมราชทัณฑ์จะเข้าไปมีบทบาทอย่างไร นายพีระพันธุ์ ตอบว่า เรื่องนี้มีขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว และตนมีหน้าที่คล้ายเป็นผู้ส่งต่อเรื่องเท่านั้น “ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าเขาขอได้ไหม อยู่ที่ว่าเขาขอแล้วเขาจะได้รับสิ่งที่เขาขอหรือเปล่า อันนี้มันมีหลักเกณฑ์ของคนที่จะขอพระราชทานอภัยโทษได้ เมื่อเข้าหลักเกณฑ์แล้วต้องพิจารณาว่าเขาเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับหรือไม่ และสุดท้าย ถ้าเข้าเงื่อนไข ส่งขึ้นไปก็แล้วแต่พระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่มีใครตอบได้ เพราะฉะนั้น ในส่วนนี้ไม่มีคำถามที่ตอบยากเลย เพราะผมเป็นแค่แมสเซนเจอร์เท่านั้น ซึ่งทุกอย่างมันมีกฎเกณฑ์กติกาอยู่” รมว.ยุติธรรม กล่าว นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ ยังกล่าวด้วยว่า ตามขั้นตอนของการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น ต้องเริ่มต้นที่กรมราชทัณฑ์ ซึ่งเมื่อกรมราชทัณฑ์ส่งเรื่องมาถึงตน เมื่อตนพิจารณาว่าเข้าเงื่อนไขก็จำเป็นต้องส่งต่อ มิฉะนั้น ตนก็อาจจะถูกฟ้องข้อหาประพฤติมิชอบได้ ทว่า ถ้าคนที่ขอมาไม่เข้าหลักเกณฑ์ทางผู้ที่ส่งเรื่องขึ้นมา คือ เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ก็อาจต้องข้อหาทุจริตต่อหน้าที่ได้

นายแฮรี นิโคลายส์อายุ 41 ปี ชาวออสเตรเลีย อดีตนักข่าวและคอลัมนิสต์ที่ต้องคำพิพากษาจำคุก 3 ปีจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในตอนท้าย รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงสถานการณ์การโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ และกระแสการเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ลึกๆ แล้วตนทราบมาว่าส่วนหนึ่งเกิดจากขบวนการจัดตั้งกฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”