วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

กฎหมายครอบครัว (การหมั้น)


มาตรา1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย

ตัวอย่างเช่น นายบินจะแต่งงานกับ นางสาวเบล โดยที่ทั้ง 2 คนได้มีการหมั้นไว้เรียบร้อยแล้ว และนายบินก็ได้สัญญากับนางสาวเบลเอาไว้ว่าอีก 3 เดือนจะกลับมาแต่งงานด้วย แต่พอถึงกำหนดครบ 3เดือน นายบินก็มาตามสัญญาพร้อมที่จะแต่งงานกับนางสาวเบล แต่พอมาถึงนางสาวเบลกลับเปลี่ยนใจไม่แต่งงานกับนายบินตามที่สัญญาไว้ ทำให้นายบินเสียชื่อเสียง ในกรณีนี้ นายบินสามารถเรียกค่าทดแทนจากนางสาวเบลได้ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ตาม

มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็นส่วนหนึ่งของ ค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ หรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึง ของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้


จากตัวอย่างดังกล่าว นายบินสามารถเรียกเอาของหมั้นทั้งหมดกลับคืนมาได้ เพราะเป็นความผิดสัญญาหมั้นของฝ่ายหญิง (ของนางสาวเบล)


นางสาว สุพรรณี เสมอภาค เลขที่40 รปศ.501

1 ความคิดเห็น: