วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายที่ควรรู้

- การรับบุตรบุญธรรม
นักเรียนบางคนอาจจะเป็นบุตรบุญธรรมของบิดามารดาบุญธรรม เนื่องจากเหตุต่างๆ หรือสมาชิกในครอบครัวบางคนไปเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรับบุตรธรรม ดังนี้
1. บุคคลที่จะรับบุตรบุญธรรมได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี ผู้นั้นจะต้องให้ความยินยอมด้วย
*กรณีตัวอย่าง ดวงดาอายุ 32 ปี มีความประสงค์จะรับดวงใจซึ่งมีอายุ 16 ปี เป็นบุตรบุญธรรม อายุของผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมครบตามหลักเกณฑ์เรื่องอายุก็จริง แต่จะต้องได้รับความสมัครใจยินยอมจากดวงใจด้วย
2. การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดา หรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าว หรือมีแต่บิดามารดาคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนายินยอมได้ หรือไม่ให้ความยินยอมและการไม่ให้ความยินยอม ปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญ สวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดา หรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมได้
3. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
4. บุตรบุญธรรมมีฐานะเช่นเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ไม่สูญสิทธิหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิดมา
5. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสผู้รับบุตรบุญธรรม
*กรณีตัวอย่าง เด็กชายแดงเป็นบุตรบุญธรรมของนายดำ ต่อมานายดำสมรสกับนางสาวชมพู เด็กชายแดงจะเป็นบุตรบุญธรรมของนางชมพูก็ได้ เพราะถือว่าเป็นคู่สมรสของดำ
6. การับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
- การรับรองบุตร
บุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรสเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย กฎหมายเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตรได้ ซึ่งทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชาย และถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันจดทะเบียน ถ้าเป็นกรณีบุตรนอกสมรส แต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตรอีก

ที่มา:http://www.bp-smakom.org

นางสาวสุพรรณี เสมอภาค เลขที่40 รปศ.501